คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การสร้างหรือพัฒนาตราสินค้า (ฺBranding) ให้กับตลาดวโรรส (กาดหลวง)

เนื่องจากทางคณะผู้จัดทำมีความสนใจในการผลิตสื่อเพื่อพัฒนาตราสินค้า (Branding) ให้แก่ตลาดวโรรส (กาดหลวง) ซึ่งจากสถานการณ์วิกฤติการณ์โควิด-19 ตลาดวโรรสหรือกาดหลวงก็กำลังประสบปัญหาในด้านการตลาดและการสร้างตราสินค้า (Branding) อยู่แล้ว กล่าวคือ กาดหลวงนั้นเป็นที่รู้จักได้จากการแนะนำแบบปากต่อปาก (word of mouth) เป็นหลัก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ คนในพื้นที่รู้จักเป็นส่วนมาก และอยู่มายาวนาน ตามที่กล่าวไปข้างต้น จึงเกิดการแนะนำจากคนในพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่และต้องการซื้อสินค้าเพื่อเป็นของฝากให้มาที่กาดหลวง ถึงกระนั้นกาดหลวงก็เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ประกอบการหรือเจ้าของตลาดไม่ได้มีการทำการตลาดและสร้างตราสินค้า (Brand) ในนามของตลาดเองอย่างชัดเจน มีเพียงการสื่อสารการตลาดของพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ประกอบการในตลาดเท่านั้นทำให้การสื่อสารคุณค่าและแก่นแท้ของตลาดไม่ชัดเจนตามไปด้วย อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ของตลาดที่ไม่ทันสมัย ทำให้กาดหลวงไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่เท่าที่ควรด้วย ซึ่งหากกาดหลวงสามารถขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ด้วยก็จะทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและทำให้รายได้ของพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ประกอบการในตลาดมากขึ้นไปด้วย อันจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเจ้าของพื้นที่ตลาดวโรรสตามไปด้วย จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนจึงเห็นความสำคัญของปัญหานี้ และมีความสนใจที่จะจัดทำสื่อตามโครงงานเรื่อง “การสร้างหรือพัฒนาตราสินค้า (ฺBranding) ให้กับตลาดวโรรส (กาดหลวง)” เพื่อทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรับรู้และสนใจในตลาดวโรรส เพื่อช่วยเหลือผู้บริหารกิจการตลาดวโรรส (กาดหลวง) และผู้ประกอบการในตลาด ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้มีรายได้มากขึ้นและเป็นแนวทางด้านการสร้างหรือพัฒนาตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดอย่างยั่งยืนแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังสนใจมาทำการสื่อสารการตลาดในธุรกิจตลาดให้ดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้นต่อไป

โดยทางคณะผู้จัดได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ และข้อมูลจากคณะบริหารของทางตลาด พบว่าปัญหาการสื่อสารทางการตลาดที่ควรมีการปรับปรุงคือช่องทางออนไลน์ที่ยังไม่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้ และความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับตลาด เช่น พื้นที่ของตลาดสินค้าที่มีในตลาด และสิ่งที่ทางผู้บริหารต้องการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมาย คือ สินค้าหลากหลาย มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย จึงเกิดเป็น Big Idea คือ “ปิ๊กมากาด” โดยมีการตั้ง Tagline ใหม่จากเดิมคือ “การของคนเชียงใหม่” เป็น “ล้านนา ล้านสิ่งสัมผัสได้จริงที่กาดหลวง” ซึ่งจะทำการนำเสนอผ่านหลายสื่อ ดังนี้

  • หนังสั้นปิ๊กมากาด
  • Content (Art work) เผยแพร่ทางช่องทางสื่อออนไลน์
  • Photo Set ตรุษจีน
  • โลโก้ตลาด
  • วิดีโอสั้นเที่ยวกาดหลวง

สื่อทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้จัดทำได้มีการปรึกษาขั้นตอนก่อนการผลิตร่วมกับทางตลาด และอาจารย์ที่ปรึกษา จึงได้มีการนำสิ่งที่ผู้ประกอบการ ผู้บริหารตลาดต้องการจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทางคณะผู้จัดทำจึงได้เลือกสื่อ ชนิดผลงานที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจมาผลิตเป็นชิ้นงานเพื่อพัฒนาตราสินค้าให้แก่ตลาดวโรรส

โครงงานผลิตสื่อในกระบวนวิชา 851419 สัมมนาการผลิตทางการสื่อสาร (Seminar in Communication Production)

ผู้จัดทําโครงงาน

นางสาว พีรภรณ์ งามชาลี รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810130 กลุ่มวิชา การประชาสัมพันธ์
นางสาว สุพรทิพย์ พิมสาร รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810174 กลุ่มวิชา การโฆษณา
นางสาว อุษณิษา ยศสมบัติ รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810188 กลุ่มวิชา การโฆษณา
นางสาว ไอริณ จันทร์อินทร์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810189 กลุ่มวิชา การโฆษณา
นางสาว ณัฐวรรณ ศิริมงคล รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810219 กลุ่มวิชา การโฆษณา
นางสาว สุพรรษา ลือวราพงษ์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 611810260 กลุ่มวิชา การประชาสัมพันธ์

อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิกานต์ ลิมปิติ

ผลงานของนักศึกษา

วิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์

วิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์ รูปแบบ Vlog

วิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Tiktok)

10 ร้าน 10 เรื่องราวแห่งความประทับใจ แห่งตลาดวโรรส (กาดหลวง)

Photo Set ตรุษจีน

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Newsletter
Lorem ipsum dolor sit amet conse ctetur adipisicing elit, sed do eiusmod.