คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สื่อสารฯ มช. ร่วมเป็นวิทยากร Workshop การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC: Community Business Model Canvas) ยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากภูมิปัญญาชุมชนตำบลเวียงยอง จ.ลำพูน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิกานต์ ลิมปิติ อาจารย์วิทวัส ขัติรัตน์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการสื่อสารการตลาด (Marketing Communication) คณะการสื่อสารมวลชน นายพิรุฬห์วัฒน์ พันธุ์แก้ว บุคลากรประจำศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร และนายภาณุพงศ์ ใจรักษา ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน จากบริษัท MID Digital Media consultant ร่วมเป็นวิทยากรและผู้ช่วยปฏิบัติงานในกิจกรรม “อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC: Community Business Model Canvas) เมื่อวันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสภา เทศบาลตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ตลอดกิจกรรมการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC: Community Business Model Canvas) ได้มีการบรรยาย สร้างความเข้าใจ และฝึกลงมือปฏิบัติการ ได้แก่

  • ธุรกิจเพื่อชุมชน คืออะไร
  • เป้าหมายในการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC)
  • แบบจำลองและตัวอย่างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
  • การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
  • การค้นหาจุดขายเพื่อสร้างแบรนด์ / Value Propositions (คุณค่าของสินค้า)
  • การค้นหาลูกค้าที่ชัดเจนและลูกค้าอนาคต / Customer Segments (กลุ่มลูกค้าปัจจุบัน/อนาคต)
  • การสื่อสารการตลาด / Channels (การสื่อสารการตลาดและ Logistic)
  • การปิดการขายและบริการหลังการขาย / Customer Relationships (ความสัมพันธ์ต่อลูกค้า
  • การปิด การขาย สร้างและรักษา brand)
  • ช่องทางรายได้ ลดค่าใช้จ่าย / Revenue Streams (ที่มาของรายได้)
  • ทดลองทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
  • ทดลองจัดทำแผนการดำเนินงาน

กิจกรรมดังกล่าวฯ ดำเนินการโดยโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากภูมิปัญญาชุมชนตำบลเวียงยอง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ภายใต้การรังสรรค์ร่วมของภาคีเครือข่าย” โดยมี รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ และมี ผศ.ดร.กก.จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ เป็นนักวิจัยร่วม โดยโครงการนี้ได้รับทุนวิจัยจาก “แผนงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Tech Transfers to Community)” ภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Agenda 9 – Innovation Mechanism Development) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาสมุนไพรให้กับชมรมผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรพญายอง จังหวัดลำพูน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านปรับใช้ให้สอดคล้องกับการตลาด ให้มีแผนงานธุรกิจรูปแบบชุมชนในยุคสมัยใหม่มากขึ้น

สื่อสาร สร้างสรรค์ แบ่งปัน 🕊
#MassCommCMU

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Newsletter
Lorem ipsum dolor sit amet conse ctetur adipisicing elit, sed do eiusmod.